วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เครื่องชงกาแฟ Espresso machine

ผมซื้อเครื่องชงกาแฟ espresso machine เครื่องแรกเมื่อสองวันก่อน   ทำให้เข้าใจประเด็นของเครื่องชงกาแฟกว่าก่อนหน้านี้พอควร อาจจะเป็นข้อมูลให้คนที่จะเลือกซื้อเครื่องชงกาแฟได้ โดยเฉพาะมือใหม่แบบผม

เครื่องที่ผมซื้อมาคือ Gaggia รุ่น Evolution ซึ่งเป็นรุ่นที่มีคนเชียร์มากในเวบบอร์ดต่างๆ แต่ก็หาซื้อยากมากเพราะ(ได้ข่าวว่า)ตัวแทนจำหน่ายเลิกขายไปแล้ว เดิมก็มีขายตามห้างทั่วๆไป   ผมมาได้เครื่องนี้จากร้าน คอฟฟี่ บลูลาวาร์ด ที่ เจเจมอล ในราคา 9,900 บาท

ที่เลือกรุ่นเพราะต้องการใช้งานที่บ้านวันละไม่กี่ถ้วย จึงไม่ต้องการเครื่องที่ราคาสูงมากนัก   แต่ก็กังวลเรื่องคุณภาพ เพราะซื้อมาแล้วก็อยากให้ใช้งานได้ดี ไม่อยาก   ส่วนนี้ผมอาศัยข้อมูลในอินเทอร์เน็ตล้วนๆ อ่านความเห็นตามเวบต่างๆ ของเครื่องหลายๆรุ่น ซึ่งทุกรุ่น(ในช่วงราคาที่ต้องการ)ก็ได้รับคำวิจารณ์ที่ผสมปนเปกัน ทั้งดีและไม่ดี มีเพียงรุ่นนี้ที่ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยมีความคิดเห็นในแง่ลบ   แม้ว่าความเห็นเชิงลบบางอัน ผมอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจว่ามันไม่ดีเพราะอะไร

ที่เจเจมอลมีร้านขายเมล็ดกาแฟและเครื่องชงอยู่ประมาณ 4 ร้าน ทั้งหมดจับกลุ่มลูกค้าที่เปิดร้านขายกาแฟ  ดังนั้นจึงมีวัสดุอุปกรณ์สำหรับร้านค้าเป็นหลัก เช่น เครื่องใหญ่ๆ ที่ชงกาแฟได้ต่อเนื่อง ของที่ราคาไม่แพงมาก แต่ก็มีอุปกรณ์สำหรับใช้ในบ้านอยู่ด้วย แม้แต่ของที่หายาก เพราะไม่ค่อยมีคนซื้อ เช่ย My Pressi ยังมีขายเลย

อุปกรณ์ที่มากับเครื่อง Gaggia Evolution คือ ก้านชงขนาดมาตราฐาน (filter holder เส้นผ่าศูนย์กลาง 58 มม.) ตัวกรอง (filter) 2 อัน อันนึงสำหรับใส่กาแฟบด 1-2 ชอร์ต อีกอันสำหรับ coffee pod ชนิด ESE 1 ชอร์ต ซึ่งตรงนี้คนขายให้ข้อมูลผิดว่าเป็นตัวกรองขนาด 2 ชอร์ต และ 1 ชอร์ตตามลำดับ   จริงๆแล้วข้อมูลที่คนขายบอกเป็นของเครื่อง Gaggia Evolution ที่ขายไปก่อนหน้านี้ แต่ตอนหลังทาง Gaggia มีการปรับเปลี่ยน ข้อมูลนี้ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน   อุปกรณ์อื่นๆ คือ ช้อนตักกาแฟ และ ที่กดกาแฟ ทำจากพลาสติกทั้งสองชิ้น   ช้อนตักกาแฟมีความจุสำหรับกาแฟประมาณ 7 กรัม เป็นปริมาณมาตราฐานสำหรับ 1 ชอร์ต

สิ่งที่สังเกตุได้ตอนล้างตัวกรอง คือ รูของตัวกรองเล็กมาก ขังน้ำไว้ได้   ตอนชงกาแฟน้ำมีแรงดันสูงจึงผ่านออกมาได้   และ เนื่องจากรูตัวกรองเล็กมาก อุณหภูมิน่าจะมีผลต่อการขยายตัวอย่างมีนัยะสำคัญ ทำให้อุณหภูมิตัวกรองมีผลต่อรสชาดของกาแฟนั่นเอง

ขนาดและวัสดุที่ใช้ทำ filter holder เป็นปัจจัยที่หลายคนเชียร์เครื่องรุ่นนี้   เครื่องสำหรับใช้ในบ้านยี่ห้ออื่นๆ มักใช้ filter holder ที่เล็กกว่านี้   ในขณะที่ขนาด 58 มม. เป็นขนาดมาตราฐานที่ใช้กันมาก   ผมคิดว่าความกว้างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือน้ำร้อนจะผ่านกาแฟเร็ว ผงกาแฟจะมีความหนาที่น่าจะเหมาะสม  แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการเกลี่ยและกดผงกาแฟให้เสมอกัน   ไม่อย่างนั้นน้ำร้อนอาจวิ่งผ่านกาแฟไม่ทั่วทั้งหน้าตัด ทำให้ได้รสชาดจากกาแฟเพียงบางส่วน   นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ยี่ห้ออื่นใช้ filter holder ที่เล็กกว่า   ผลอีกอย่างนึงคือแรงดันน้ำ การรักษาแรงดันน้ำที่วิ่งผ่านตัวกรองขนาดใหญ่ย่อมจะยากกว่า    แต่จริงๆ ก็เล็กกว่ากันนิดเดียว ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องการตลาดล้วนๆรึเปล่า   ส่วนวัสดุนั้น filter holder ของรุ่นนี้ทำจากทองเหลือง น่าจะทนทานกว่าชนิดพลาสติกที่ใช้ในบางยี่ห้อ

ตัวกรองทั้งสองอันเป็นแบบ 2 ชั้น หรือ pressurized filter ชั้นนอกมีรูเปิดน้อยกว่าชั้นใน ทำให้มีการอั้นน้ำกาแฟเพิ่มความดัน น่าจะช่วยสร้างครีม่า(เทียม) ซึ่งเป็นคุณสมบัตรที่มีในเครื่องชงกาแฟตามบ้านหลายๆยี่ห้อ  บางคนแนะนำให้เปลี่ยนเอาตัวกรองแบบชั้นเดียวมาใช้ เพราะจะทำให้ได้น้ำกาแฟที่รสชาดดีกว่า แบะ กากกาแฟจะแห้ง แต่ผมไม่เข้าใจว่าเพื่ออะไรเหมือนกัน แต่ถ้ามีโอกาสก็ว่าจะลองดู

รูให้กาแฟออกด้านล่างของ filter holder นั้นมีครีบพลาสติกแบ่งกาแฟเป็นสองทาง สำหรับชงพร้อมกันได้สองแก้ว   บางคนแนะนำให้เปลี่ยน filter holder เป็นแบบไม่มีก้น คือด้านล่างเปิดโล่ง   อีกชิ้นส่วนหนึ่งของ Gaggia Evolution คือ jet pin ซึ่งเป็นจุกกลวงเล็กๆใน filter holder ซึ่งทำหน้าที่กันน้ำกาแฟกระจาย อันนี้คนขายบอกว่าทำหายกันหลายคน ราคาประมาณสามร้อยกว่าบาท

การควบคุมเครื่องนั้น ก็เหมือนกับหลายๆเครื่องในระดับเดียวกัน คือ มีปุ่มกด 3 ปุ่ม กับ ปุ่มหมุน 1 ปุ่ม   ปุ่มกดอันแรกมีไว้ปิดเปิดไฟฟ้า เมื่อเปิดไฟฟ้าเข้าเครื่องๆ จะต้มน้ำสำหรับชงกาแฟ เมื่ออุณหภูมิน้ำได้ที่จะมีไฟบอกสถานะพร้อม   อีกปุ่มทำหน้าที่ควบคุมปั๊มน้ำ เมื่อกด ปั๊มน้ำจะทำงาน ปั๊มน้ำร้อนให้อัดผ่านกาแฟในตัวกรอง ได้น้ำกาแฟไหลลงแก้ว เมื่อกาแฟเริ่มจาง ผู้ใช้ต้องกดปิดปั๊มเอง   ปุ่มกดอันสุดท้ายสำหรับเร่งอุณหภูมิน้ำ เนื่องจากเครื่องรุ่นนี้เป็นรุ่นเล็ก มีหม้อต้มน้ำใบเดียว ใช้ทั้งชงกาแฟและสตรีมนม ซึ่งการสตรีมนมนั้น ต้องต้มน้ำให้อุณหภูมิสูงกว่าตอนชงกาแฟ   ปุ่มที่สามจึงมีหน้าที่ในการเลือกอุณหภูมินั่นเอง    เมื่อกดปุ่มนี้เครื่องจะเร่งอุณหภูมิในหม้อต้มขึ้นไป จนได้อุณหภูมิสำหรับสตรีมนม ไฟแสดงสถานะพร้อมก็จะติด

ปัญหาคือหากต้องการลดอุณหภูมิกลับลงมาเพื่อชงกาแฟจะต้องทำอย่างไร เมื่อกดปุ่มที่สามอีกครั้ง เครื่องจะกลับไปโหมดชงกาแฟ แต่น้ำในหม้อน้ำจะยังร้อน(เกินไป)อยู่  ผู้ใช้ต้องลดอุณหภูมิเอง โดยการเปิดปั๊มให้น้ำร้อนระบายออกไปบางส่วน จนไฟแสดงสถานะพร้อมดับลง จึงปิดปั๊มแล้วรอให้ไฟสถานะพร้อมติดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะได้อุณหภูมิที่พอดี   ผมเคยทำพลาด เปิดปั๊มเพื่อชงกาแฟโดยไม่ลดอุณหภูมิลงก่อน ทำให้กาแฟกระจายออกจากก้านชง น่าจะเกิดจากแรงดันสูงเกินไป เนื่องจากไอน้ำ

การสตรีมนมทำโดยหมุนปุ่มหมุนเพื่อเปิดวาล์วไอน้ำ   เครื่องรุ่นนี้มาพร้อมก้านสตรีมนมชนิด pannarello ซึ่งช่วยให้สตรีมนมได้ง่าย  ไม่ว่าจะสอดก้านลงในนมลึกหรือตื้น ก็จะดึงอากาศเข้าไปในนมได้เหมือนกัน  เพราะก้านชนิดนี้มีรูให้อากาศเข้าอยู่ตอนบนของก้าน  แต่ข้อเสียคือไม่สามารถควบคุมปริมาณอากาศได้   จนถึงตอนนี้ผมยังไม่สามารถตีฟองนมแบบไมโครโฟมสำหรับทำลาเต้ได้เลย  มีฟองเยอะไป เหมาะสำหรับคาปูชิโนมากกว่า  สังเกตุว่าเครื่องมักจะโฆษณาว่าทำเอสเปรสโซ่ และ คาปูชิโน่ อาจจะเป็นเพราะการทำลาเต้จริงๆแล้วยากกว่า

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ในช่วงเวลาสองวันที่ใช้เครื่องมา ชงกาแฟประมาณสิบแก้ว มีดีมีเสียปนกันไป ที่เสียไม่น่าจะเป็นเพราะเครื่อง แต่น่าจะเป็นเพราะคนทำพลาดมากกว่า



วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อีโบล่า


เมื่อเช้านี้ลองพล๊อตกราฟจำนวนเคสการติดเชื้ออีโบล่า (ซึ่งรวมทั้งเคสที่ยืนยันแล้ว และ เคสต้องสงสัย และเป็นจำนวนรวมที่เสียชีวิตและรักษาหายแล้วด้วย) ได้ผลตามรูป ซึ่งยังคงมีจำนวนเคสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบ 20,000 เคสแล้ว อัตราการเพิ่มเฉลี่ยประมาณ 16,  30 และ 90 คนต่อวัน ในประเทศ Guinea, Liberia และ Sierra Leone ตามลำดับ นับว่ายังน่าเป็นห่วง

ลองดูประชากรของแต่ละประเทศเป็นดังนี้ Guinear 11 ล้านคน Liberia 4.5 ล้านคน และ Sierra Leone 6.38 ล้านคน เทียบแล้วอัตราการติดเชื้อต่อวันของ Sierra Leone ประมาณ 1 ใน 70,000 ส่วนของ Guinea ประมาณ 1 ใน 690,000 

ประเทศ Sierra Leone มีพื้นที่ประมาณ 72,000 ตารางกิโลเมตร มีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 89 คน ต่อตารางกิโลเมตร แต่เมืองที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดนั้น หนาแน่นถึง 1,200 คนต่อตารางกิโลเมตร เทียบได้กับเขตลาดกระบัง ส่วนเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดใน กทม. เป็นเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีประชากร 27,000 คนต่อตารางกิโลเมตร และ เขตหนองจอกมีประชากรเบาบางสุดเพียง 653 คนต่อตารางกิโลเมตร

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แทกซี่ขอขึ้นราคา

ช่วงนี้มีข่าวว่าชาวแทกซี่ขอขึ้นราคาค่าโดยสาร ทางผู้ประกอบการบอกว่าอยากขอขึ้น 20% ทางรัฐบาลให้ขึ้นได้ 13% โดยแบ่งขึ้น 2 ครั้ง และ ขอให้ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการทั้งคุณภาพรถ และ คนขับ ผมคิดว่ารัฐบาลไม่มีสิทธิ์ห้ามไม่ให้ขึ้นราคา เพราะแทกซี่เป็นธุรกิจของเอกชน เขาลงทุนหารถมาเอง ค่าเชื้อเพลิง ค่าซ่อมรถ ก็จ่ายเอง ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า เจ็บป่วยขึ้นมาก็ต้องจ่ายเงินรักษาตัวเอง แล้วรัฐใช้สิทธิ์อะไรมาห้ามไม่ให้เขาเรียกราคาตามที่เขาเห็นสมควร แทกซี่ไม่ใช่สัมปทาน ใครอยากขับก็ออกรถ ขออนุญาต แล้วก็มาขับได้ไม่จำกัดจำนวนรถ

แต่ตรงกันข้าม ผมคิดว่าถ้าขึ้นค่าโดยสารมากๆ ผู้โดยสารจะน้อยลง อาจจะขาดทุน แต่คนขับแทกซึ่อาจจะไม่ได้มองจุดนี้ หรือเขาอาจจะมองและประเมินว่า 20% เป็นราคาที่ผู้โดยสารรับได้ เขาอาจจะคิดผิดหรือถูกแต่ก็เป็นสิทธิ์ของเขาที่สามารถเรียกร้องได้

มีเพียงประการเดียวที่ต้องพิจารณา คือ ราคาแทกซี่ต้องเป็นราคาเดียวกันทั้งระบบ เพราะเราใช้ระบบมิตเตอร์ รัฐบาลมีหน้าที่ถามให้แน่ใจว่าชาวแทกซี่เห็นพ้องต้องกันแล้วใช่ไหมในการกำหนดราคา ต้องหาวิธีที่เหมาะสมในการตัดสินว่าเป็นมติอันชอบธรรมของชาวแทกซี่ เมื่อเป็นอย่างไรก็ดำเนินการไปตามนั้น

หากแทกซี่ขอขึ้นราคาจนผู้โดยสารเดือดร้อนจะทำอย่างไร อันนี้เป็นปัญหาที่สังคมต้องหาทางแก้ไข เช่น จัดรถเมล์เพิ่มขึ้น มีรถสองแถว รถตู้ ฯลฯ แน่นอนว่ามันเป็นปัญหา แต่การห้ามไม่ให้แทกซี่ขึ้นราคาไม่ใช่คำตอบ

ปัญหาปฏิเสธผู้โดยสาร จริงๆก็เป็นสิทธิ์ของแทกซึ่เหมือนกัน โดยเฉพาะในเส้นทางที่รถติดมากๆ ในเมื่อยังมีกรณีที่รถติดนิ่งๆ นานเป็นชั่วโมง แล้วจะบังคับให้แทกซี่วิ่งผ่านบริเวณที่เขาเชื่อว่ารถจะติดมากขนาดนั้น จะทำได้อย่างไร พอเข้าไปในที่รถติดจริงๆ ผู้โดยสารก็ขอลงไม่ไปต่อ ส่วนแทกซี่เข้าไปแล้วก็ไม่มีทางเลือก หรือ แม้แต่ข้ออ้างว่าเขาต้องเปลี่ยนกะ ก็ถ้าเขาต้องเปลี่ยนกะจริงๆ เอาเหตุผลอะไรไปบังคับเขา ปัญหาที่แท้จริงคือไม่มีวิธีคิดค่าโดยสารที่เหมาะสม ที่ช่วยให้ผู้ให้และผู้รับบริการตกลงกันได้ ปัญหานี้มันแก้ยาก รัฐก็เลยเลือกวิธีแก้ง่ายๆ ด้วยการบังคับ เพราะมีอำนาจอยู่ในมือ

ปัญหาในการบริการนั้น ผมคิดว่ามาจากโมเดลธุรกิจของกิจการแทกซี่ ซึ่งเป็นเป็นโมเดลล่าเหยื่อ ตีหัวเข้าบ้าน ที่ว่าตีหัวเข้าบ้านเพราะแทกซี่กับผู้โดยสารนั้น ใช้บริการกันครั้งเดียวแล้วก็จากกันไป มีโอกาสน้อยมากที่จะมาพบกันอีก จึงไม่มีประโยชน์ หรือ แรงจูงใจอะไรที่คนขับแทกซี่จะต้องให้บริการที่ดี ความสามารถในการหารายได้ของคนขับอยุ่ที่ความสามารถในการล่าเหยื่อ คือการวิ่งไปที่ๆ มีโอาสได้ผู้โดยสาร ช่วงเวลานี้ย่านไหนมีคนรอรถเยอะ ต้องวิ่งชิดซ้าย หรือ ชิดขวาตรงไหน จะได้ไม่เสียเวลาและไม่เสียโอกาสได้คนโดยสาร เมื่อโมเดลธุรกิจเป็นอย่างนี้ ย่อมไม่ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ในขณะที่บริการใหม่ๆ ที่เป็นการเรียกแทกซี่ผ่านแอพนั้น มีโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแทกซี่กับผู้โดยสาร แม้ว่าแทกซี่แต่ละคันจะไม่ได้พบกับผู้โดยสารคนเดิมอีก แต่ผู้โดยสารสามารถให้คะแนนความพึงพอใจ ซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการเลือกแทกซี่สำหรับผู้โดยสารคนอื่นๆ หรือ ใช้ควบคุมคุณภาพในการให้บริการ ถ้าทำเรื่องแบบนี้ ผมคิดว่าน่าจะได้ผลดี และ ไม่ต้องละเมินสิทธิ์ใคร

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หนี Commodity ด้วย Confidence

พอดีได้อ่านเรื่องกลยุทธการตลาดของยางรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง ทำให้ผมนึกถึงความเชื่อของผู้บริโภคบางส่วนที่มีต่อ Commodity product บางยี่ห้อ ที่ทำให้เกิดความไว้วางใจ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ แม้ว่าจะไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อนั้นๆได้ เช่น บางคนเชื่อว่ายางรถยนต์บางยี่ห้อปลอดภัยกว่ายี่ห้ออื่นๆ เลยเลือกซื้อยี่ห้อนั้น แม้ว่าจะหาซื้อยาก และ ราคาแพงกว่ายี่ห้ออื่นก็ตาม แถมยังไม่สนใจฟีเจอร์ใดๆของยี่ห้ออื่นเลย ไม่ว่าจะนำเสนอว่าอะไร เช่น ไฮเทค เป็นของนำเข้า รีดน้ำดี ขับนุ่ม เสียงเงียบ ฯลฯ

เรื่องความเชื่อนี้ไม่ใช่กลยุทธใหม่ แต่พอมาคิดดูดีๆแล้ว มันเป็นเรื่องที่ ถ้าทำได้ มันได้ผลดีมาก เพราะ Commodity product อาจจะดูว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความโดดเด่น ตอบโจทย์ความต้องการพื้นๆ แต่ความต้องการพื้นๆ มักจะไปผูกกับคุณค่าลึกๆ อยู่บ่อยๆ เช่น ยางรถยนต์ เป็นสินค้าพื้นๆ แต่สามารถเชื่อมโยงกับความปลอดภัย ซึ่งเป็นคุณค่าที่สำคัญมากๆ หรือ อาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวสาร ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ ก็สามารถไปผูกกับความปลอดภัยทางอาหาร ความเชื่อลึกๆอย่างนี้ พิสูจน์ยาก และผู้บริโภคก็ไม่ต้องการพิสูจน์ ตราบใดที่ราคาต่างกันจนเกินไป เป็นราคาความสบายใจที่ผู้บริโภคจ่ายได้ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเชื่อก็จะหากินกับความเชื่อนี้ได้ยาวๆ

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทีวีดิจิตอล

ประเทศไทยน่าจะมี smart set top box สำหรับดูทีวีดิจิตอล ผมคิดว่านี่จะเป็นโอกาสปฏิวัติวงการทีวี 

set top box ที่ขายในท้องตลาดปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่ต่างจากทีวีอนาล็อกในอดีต เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของผู้ชมได้เลย ทั้งๆที่บรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เพียงเพิ่มฮาร์ดแวร์อีกเล็กน้อยก็จะสามารถเปลี่ยน set top box ทั่วไปให้กลายเป็น smart set top box ที่สามารถสื่อสาร 2 ทางได้แล้ว

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการสื่อสาร 2 ทางอันดับแรกคือ การรับรู้ความนิยมรายการต่างๆ ซึ่งจะเป็นฐานให้สามารถสร้างคุณค่าอีกมากมายให้กับผู้ชม

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Ebola ในไนจีเรีย

เมื่อสักครู่ได้อ่านข่าวจากเวปของ WHO ว่าประเทศไนจีเรียปลอดจากการติดเชื้อ Ebola แล้ว โดยที่การรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ติดต่อกันเป็นเวลา 42 วัน นี่เป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าติดตามในรายละเอียด

http://www.who.int/mediacentre/news/ebola/20-october-2014/en/

อ่านต่อไปถึงผู้ป่วยคนแรกที่นำเชื้อ Ebola เข้าสู่ไนจีเรีย เป็นชายชาวไลบีเรียที่เดินทางโดยเครื่องบินเข้าประเทศไนจีเรีย ณ เมืองลาโกสในวันที่ 5 กรกฎาคม และเสียชีวิตในอีก 5 วันต่อมา ก่อนออกเดินทางเขามีอาการป่วยอย่างชัดเจน เขานอนบนพื้นในห้องพักผู้โดยสารระหว่างรอขึ้นเครื่อง เขาอาเจียนหลายครั้งตั้งแต่ตอนอยู่บนเครื่อง ตอนที่มาถึงไนจีเรีย และ ตอนที่เขานั่งรถยนต์ที่พาเขาไปส่งยังโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ที่เดินทางไปกับเขาเสียชีวิตลงภายหลังด้วยเชื้อ Ebola

ที่โรงพยาบาลชายดังกล่าวแจ้งว่าเขาป่วยด้วยโรคมาลาเรีย และปฏิเสธว่าไม่ได้ติดต่อกับผู้ติดเชื้อ Ebola ทั้งที่จริงๆแล้วน้องสาวของเขาเสียชีวิตลงด้วยโรค Ebola ในไลบีเรีย และ เขาได้ไปเยี่ยมน้องสาวที่โรงพยาบาลและไปงานศพของเธอ

เนื่องจากมาลาเรียไม่ติดต่อจากคนสู่คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจึงไม่ได้ใช้มาตราการป้องกันอย่างเพียงพอ ทำให้หมอและพยาบาลติดเชื้อจากเขา 9 คน และ 4 คนเสียชีวิต

กรณีที่สองเกิดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคมที่เมือง พอร์ต ฮาร์คอร์ท ทำให้หมอผู้ให้การรักษาเสียชีวิตด้วย Ebola เช่นเดียวกัน

ไนจีเรียประสบปัญหาโรคระบาดร้ายแรง 3 โรคพร้อมๆกัน คือ โปลิโอ โรคพยาธิกินี และ Ebola แต่ก็สามารถควบคุมทั้งสามโรคได้ ด้วยการตรวจยืนยันการติดเชื้อที่รวดเร็ว (case-finding) และ การติดตามผู้ติดเชื้อ (case-tracing) ซึ่งไนจีเรียมีห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาชั้นเยี่ยมในสังกัดของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยลาโกส และ การระดมกำลังทุกภาคส่วนรวมถึงผู้นำชุมชนและศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จากสัมมนาของ Zoetis

The powerful marketing strategy of pet business โดย ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

The Magic Bow (Coke)



Baby and Me (Evian)



Last 10 years



Lub.d


วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โน๊ตครั้งที่ 1 จาก Computerless computer company

บทความนี้ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review ในปี 1991 ทำนายว่าภายในปี 2000 บริษัทคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดจะไม่ใช่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ แต่เป็นผู้ซื้อที่รู้จักการนำคอมพิวเตอร์ที่ราคาถูกลงมากๆ และ มีความสามารถสูงๆ มาสร้างเป็น application ที่บุกเบิกและเป็นหัวใจของ new computing paradigm และ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง (enduring influence with customers)  ตราบเท่าที่ยังมีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ให้อย่างเพียงพอ การก้าวเข้าไปเป็นผู้ผลิตเสียเอง จะมีผลเสียมากกว่าผลดี  อนาคตเป็นของ computerless computer company


  • The erosion of US market share in computer production is a good news, provided that they redirect their strategies to create persistent value in computing instead. 
  • Defining how computers are used, not manufactured.
  • Strategic inversion driven by the technological advance and the bottleneck is no longer the computing power.
  • US companies lead the world in technologies to bridge the gap between computing power and applications (microprocessor architectures, OS, UI, DB, application software)
  • Customers insist on MS-DOS or Windows computing while indifferent to microprocessors (other than the price and compatibility).
  • The computer company is the company that defines the computing environment and influence customer. 
  • Microsoft does not build computer but dictates how computers are designed, built and applied through its operating systems. 
  • Microsoft both maintains its proprietary position and leverages (rather than replicates) the massive investment by HW companies.
  • It is more rewarding to tax the path between HW production and consumption than to build HW. 
  • Apple beat Microsoft by six years in developing a graphics-oriented OS, but Microsoft is the more powerful because Apple defined its business as building HW instead of leveraging the HW industry. 
  • Earlier Apple had profited from building Macintosh when price was less an issue than functionality was. Later, PC compatible price dropped and performance increased, and Microsoft OS could imitate features of Apples OS. 
  • Microsoft benefits directly from global R&D spending on HW, which is quite useless without Microsoft OS.
  • Windows covers the whole spectrum, while Apple OS is limited to its HW.
  • Apple should have 1) let other companies build Macintosh clone with a royalty fee, 2) sell IBM compatible Apple OS, and, 3) stop making low end HW, to become the driver of utility and define global computing environment. 
  • Adding more revenue (about US$400M, while Apple revenue was US$500M.) with almost no cost and moving to higher margin HW 
  • The earning could fuel more development of Apple application software. Instead, Microsoft was providing application software for Macintosh. 
On semiconductor industry
  • US semiconductor industry lost money in the last 5-6 years
  • Changing technology and economics made traditional manufacturing (high volume production and vertical integration) obsolete. 
  • Manufacturing capability (feature size and cost) was the key competitiveness.
  • Marketing group search for highest volume business to drive the learning cost down.
  • What could be designed was what could be built quickly and economically.
  • Now, fab is no longer the primary source of advantage. Better fab capability does not proportionally translate to market advantage.
  • Shift toward large chip, more integration and complexity. Large volume is not crucial.
  • Specialization is more important. (Responsive design) Wasteful is OK. 
  • Projection of production capacity shows clearly over capacity (only 4% of capacity is expected to be needed.)
  • Fabless chip producer leverage the excess production capacity.
  • Close relationship with customers and excellent design methodology and tools are important for fabless chip producer.
  • Profits without production companies position themselves to benefit from worldwide improvement in manufacturing technologies. So they focus on highly differentiated chips for niche markets.
  • Invest in real sources of competitive advantages
  • Maximizing outsourcing options by not designing chips that require state-of-the-art production but provide state-of-the-art value.
Laptop computer
  • Highly integrated  chip is almost a complete computer in itself, so the barrier to computer industry is low.
  • Japan gained 43% market share and hold key components of laptop industry.
  • Replace PC rather than expand computer HW market.
  • Toshiba is a laptop manufacturer and its market position has been challenged.
  • Grid produces laptops but position itself as a computing solution provider for mobile professions.
  • There are no real Toshiba customers.
New rules
  • Compete on utility, not power. 
    • Adherence to "open systems" is a prescription for corporate suicide. Companies that live by low entry barriers also die by them.
    • Identify high-value areas that are not yet standardized and create proprietary concepts and technologies that become candidates for the next wave of standards.
  • Monopolize the true source of value
    • Open enabling technologies to stimulate competition to drive the costs of enabling components down, to disrupt the strategies of imitative competitors that focus on these components, and, to focus on the true sources of market power.
    • Sun chose not to build Sparc chip itself but licensed the design to many manufacturers and also encouraged others to design Sparc clones.
  • Maximize the sophitication of the value you deliver; minimize the sophistication of the technology you consume.
    • Favor second-tier technologies: more equally satisfactory sources and easily controllable costs and risks
Reversal of fortunes
  • New technological and economic forces demand fundamental business model transformation. 
  • Inventing new markets rather than building new products.
  • Companies and countries that control markets hold power, profit, and, employment advantages over those that merely control technology.


วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เราจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ตลอดไปได้หรือไม่ perpetual data archiving

การเก็บข้อมูลไว้เผื่อใช้ในอนาคตเป็นเรื่องที่หลายคนเห็นความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม หรือ เหตุการณ์ทางสังคม ปัญหาคือสื่อบันทึกข้อมูลมีอายุการใช้งานจำกัด เพราะเราไม่ได้พูดถึงระยะเวลาแค่ปีหรือสองปี แต่ยาวนานเป็นสิบปี หรือ ตลอดไป

นอกจากสื่อบันทึกข้อมูลจะมีการเสื่อมสภาพ อุปกรณ์ในการเขียนอ่านข้อมูลก็มีการเสื่อมสภาพ และ เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตอนนี้หากใครมีข้อมูลในฟลอปปี้ดิสค์ ก็อาจจะหาเครื่องอ่านข้อมูลออกมาได้ยากแล้ว

ดังนั้นหากตั้งใจจะเก็บข้อมูลไว้ยาวๆ ตลอดไปแล้ว ก็ต้องมีการเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังสื่อใหม่ๆ ก่อนที่สื่อเดิมจะเสียหาย และ ก่อนที่จะหาเครื่องอ่านข้อมูลไม่ได้ด้วย

ปัญหาที่ท้าทายยิ่งขึ้นก็คือ การที่มีข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีข้อมูลที่ต้องย้ายทับถมทวีเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นตามเวลา ลองนึกดูง่ายๆว่า ข้อมูลที่ต้องย้ายในปีที่ 10 คือ ข้อมูลตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง 9 ข้อมูลที่ต้องย้ายในปีที่ 20 คือ ข้อมูลตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง 19  คำถามคือแล้วเราจะสามารถย้ายข้อมูลได้ทันกับการเพิ่มขึ้นของข้อมูลหรือไม่

ผมลองคำนวณดูง่ายๆ โดยสมมุติให้อัตราการเกิดข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นแบบ exponential ความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายข้อมูล (ในรูปของอัตรา) ก็จะเท่ากับผลรวมของ exponential นี้ แต่จะมีระยะเวลา lag เท่ากับอายุการใช้งานของสื่อบันทึกข้อมูล (ถ้าสื่อยังใช้งานได้ดี ก็ยังไม่จำเป็นต้องย้าย)​  ผมพบว่าถ้ามี lag time ที่เพียงพอ และ ถ้า exponent coefficient ของอัตราการเพิ่มสูงพอ อัตราการเพิ่มของข้อมูล จะสูงกว่าอัตราการย้ายข้อมูล (แม้เวลาจะผ่านไปหลายๆปี ก็ตาม) ซึ่งหมายความว่าถ้าเรามีเทคโนโลยีที่รองรับการเพิ่มข้อมูลได้ เราควรจะมีเทคโนโลยีที่สามารถย้ายข้อมูลได้ทันด้วยเช่นเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

หนังสือในชีวิต

ช่วงนี้มีกระแสหนังสือ 10 อันดับ ผมลอง list ดูบ้าง แต่ก็ต้องยอมแพ้ คือไม่สามารถจัดอันดับให้เหลือ 10 เล่มได้ จึงขอเขียนถึงหนังสือที่ผ่านมาในชีวิตแทนละกัน จะเกิน 10 เล่มก็คงไม่เป็นไร

1. บ้านน้อยในโพรงไม้ ชอบ จำเรื่องไม่ค่อยได้แล้ว จำได้แต่ป้ามีอาชีพรีดผ้า และ ชอบอารมณ์เสีย

2. อยู่กับก๋ง ชอบมาก อีกเล่มในชุดเดียวกันที่นึกออกคือ เด็กห้องแถว ผมก็เป็นเด็กห้องแถวเหมือนกัน

3. หนังสือมีสาระ ช่วงประถมชอบอ่านหนังสือเตรียมสอบ ปวส. หรือ อะไรประมาณนี้ ไม่ค่อยได้สนใจชื่อหนังสือเท่าไหร่ และอ่านแต่บทที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับไฟฟ้า มอร์เตอร์กระแสตรง มอร์เตอร์กระแสสลับ อิเล็กโทรไลท์ อ่านเจอคำว่าเกลือทองแดงเข้าไป ไม่รู้จะไปเอามาจากไหน เลยเอาเกลือในครัวนั่นแหละ เพราะมันมาจากทะเล มันคงมีส่วนผสมเกลือทุกอย่างอยู่ในนั้นแล้ว

ช่วงนี้เรียนอยู่มัธยมต้นสนใจคอมพิวเตอร์ อยากเรียนภาษาเบสิกแต่ไม่มีหนังสือ เล่มที่อ่านจนเปื่อยคือ หนังสือเกี่ยวกับโปรเซสเซอร์ z80 ที่ อ.ยืน เขียน ซื้อมาจากงานสัปดาห์หนังสือฯ ซึ่งปีนั้นบังเอิญมาจัดที่โรงเรียน ช่วงมัธยมปลายชอบติดตามนิตยสารทักษะ และ ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์

4. โอเมน (The Omen) จำไม่ได้ว่าชื่อหนังสือที่ถูกต้อง ภาษาไทยเรียกว่าอะไร เป็นหนังสือที่เพื่อนแนะนำให้อ่าน ชอบตอนต้นของหนังสือที่บอกว่าในแต่ละวินาทีจะมีคนอยู่บนฟ้า (อยู่ในเครื่องบิน) กี่คน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นบนโลกที่ทำให้คนบนพื้นตายหมด คนที่อยู่บนฟ้าอาจจะเป็นกลุ่มที่รอดและใช้ชีวิตกันต่อไป เรื่องราวสยองขวัญน่าติดตาม อ่านแล้ววางไม่ลง

5. ถอดวิญญาณ (The Talisman) โดย Stephen King และ Peter Straub เป็นเรื่องราวของเด็กชายแจ๊คที่ออกเดินทางไปเพื่อช่วยชีวิตแม่ โดยที่แจ๊คสามารถอยู่ในโลก 2 โลกสลับกันไปมาได้ เป็นหนังสือที่ผมเช่ามาอ่านตอนอยู่มัธยม เวลาผ่านไปหลายปีก็นึกถึงหนังสือเรื่องนี้ขึ้นมาอีก อยากอ่านอีกครั้งแต่จำชื่อหนังสือไม่ได้แล้ว จำได้แต่ชื่อตัวละครชื่อแจ๊ค นักเดินทาง เวลานึกถึงเรื่องนี้ทีไรก็ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ท หาอยู่เป็นปีๆ ก็ไม่เจอ จนเมื่อเร็วๆนี้ จึงเจอชื่อหนังสือจนได้

6. ฟายน์แมน อัจฉริยะโลกฟิสิกส์ (Surely You're Joking Mr. Feynman) อัตชีวประวัติของนักฟิสิกส์อารมณ์ดี เล่าเรื่องราวตั้งแต่เด็กจนถึงชีวิตการทำงานที่อ่านสนุกน่าติดตามมาก ผมเคยให้นักเรียนคนหนึ่งอ่าน เขานั่งอ่านรวดเดียวจบเล่มเลย

7. แผนอุบาทว์ (Windmills of the Gods) อาจารย์สาวได้รับเลือกไปเป็นฑูต  เจ้าชีวิต (Master of the Game) เรื่องราวของคนที่ถูกหลอกจนไม่เหลือทรัพย์สินอะไรเลย แต่สามารถต่อสู้สร้างตัวจนประสบความสำเร็จ พยาบาท (If Tomorrow Comes) เรื่องราวของหญิงสาวยอดอัจริยะ และอีกสารพัดเรื่องของซิดนี่ย์ เชลดอน

8. เหยี่ยวเดือนเก้า หนึ่งในสี่เล่มของชุดฤทธิ์มีดสั้นของโกวเล้ง ตอนนี้บุคคลิกของพระเอกที่ชื่อเอี๊ยบไคทำให้เรื่องไม่หนัก และพล๊อตเรื่องที่หักมุมเกินคาดหมายทำให้อยากติดตาม

9. เล่มนี้ชอบที่สุด When Hitler Stole Pink Rabbit โดย Judith Kerr หนังสือสำหรับเด็กผู้หญิง แต่ชอบมาก ชอบการเรียนรู้ การปรับตัวของหนูน้อยชาวยิวที่ต้องอพยพลี้ภัยออกจากเยอร์มัน ไปใช้ชีวิตในประเทศต่างๆ ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ ฯลฯ ครอบครัวของเธอต้องระหกระเหินไปทั้งๆ ที่ขาดรายได้ การได้พบกับเพื่อนใหม่แต่แล้วเพื่อนก็ถูกพ่อแม่ห้ามไม่ให้คบหากับคนยิวอย่างเธอ 



10. Harry Potter แม้จะโหลไปหน่อย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอ่าน (ฟัง) ทุกเล่ม

11. นึกขึ้นมาได้ว่าเร็วๆนี้ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับพม่า 2 เรื่อง คือ พม่าเสียเมือง กับ ผู้ชนะสิบทิศ จริงๆแล้วทั้งสองเรื่องไม่ได้อ่าน เรื่องพม่าเสียเมืองได้อ่านในร้านอาหารไม่กี่หน้าแล้วรู้สึกชอบ แต่หาซื้อหนังสือไม่ได้แล้ว หาไปหามาเลยเจอเป็นไฟล์เสียงอ่าน ส่วนเรื่องผู้ชนะสิบทิศได้ฟังเสียงอ่านเหมือนกัน ทางวิทยุ ตอนที่จะเด็ดหว่านล้อมนางเชงสอบูให้ช่วยให้ได้พบตะละแม่กุสุมา รู้สึกว่าคารมการเจรจาของจะเด็ดน่าสนใจเลยอยากรู้เรื่องนี้เต็มๆ สุดท้ายได้ดูเป็นละครของช่องแปดก็ไม่ผิดหวัง

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

จะทำยังไง

มีคนชวนให้คิดเรื่อง Using global infrastructure to solve global challenges ผมลองแปลเป็นภาษาไทยแบบกวนๆ ได้ว่า ใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เพื่อแก้ปัญหาที่ไม่มีใครรับผิดชอบ คือคำว่า global มันจะหมายถึงอะไร หมายถึงของทุกคน ทุกประเทศ แล้วใครจะยอมจ่ายเงิน ใครจะยอมลงแรง นึกไม่ออก แปะไว้ก่อน

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

ร่างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติ

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ลงมติรับทราบร่างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติ และ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานบรรจุในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2558 เป็นต้นไป

ประเทศไทยมีการกำหนดแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติมาหลายฉบับ ตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา ล่าสุดก็ได้มีแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557 ของกระทรวงมหาดไทย และ แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวง 17 ด้าน แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม

ตามร่างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 5 ด้าน คือ ด้านการเตรียมพร้อม ด้านชุมชนและสังคม ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศ ด้านการผนึกกำลังและการบูรณาการ และ ด้านการบริหารจัดการที่มีเอกภาพและประสิทธิภาพ 

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ได้ถูกำหนดให้มีบทบาทในร่างยุทธศาสตร์นี้มากนัก นอกจากบางข้อที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานเป็นหน่วยงานสนับสนุนแล้ว กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (ร่วมกับ มท. ตร. และ สขช.) ยังถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการพัฒนาระบบแจ้งเตือน เฝ้าระวัง ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งของการเตรียมความพร้อม 


ในความเห็นผมคิดว่ากระทวงวิทยาศาสตร์ฯ ควรจะมีบทบาทอื่นอีก ได้แก่ การพัฒนาคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ และ เครือข่ายข้อมูลด้านความมั่นคง ซึ่งมีหน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงกลาโหม และ หน่วยงานสนับสนุน คือ จังหวัด สมช. ตร. ศรชล. และในส่วนของการส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการป้องกันประเทศและความมั่นคง ทั้งในส่วนของการพัฒนาอาวุธ ระบบการแจ้งเตือนภัย และ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทำไมราคาถูก

ผู้บริโภคเชื่อว่าของถูกและดีไม่มีในโลก ถ้าสินค้าใดราคาถูกเกิน จะถูกสงสัยว่าคุณภาพต่ำ หรือ หลอกลวง ดังนั้นถ้าจะทำราคาต่ำต้องสื่อให้ผู้บริโภคเชื่อว่าทำไมเราจึงสามารถลดต้นทุนลงได้โดยไม่กระทบคุณภาพสินค้า 

ทำไมบ้าน คอนโด ราคาแพง

ส่วนหนึ่งมาจากการผ่อน ทำให้เพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถซื้อได้ (เพิ่มอุปสงค์) ระยะเวลาผ่อนที่ยาวนานทำให้ ผู้บริโภคยอมจ่ายค่างวดสูงขึ้นด้วยความคาดหวังว่ารายได้ตนเองจะเพิ่มขึ้นในระยะเวลาไม่นาน 

There is no Starbucks in Italy

วันนี้ฟังเรื่องราวความเป็นมาของร้านกาแฟ Starbucks เลยเกิดความสงสัยว่า มีสาขาในอิตาลีไหม เพราะ Starbucks เริ่มจากการนำการดื่มกาแฟแบบอิตาลีมาเผยแพร่ในสหรัฐฯ จนภายหลังกิจการขยายใหญ่โตจากการเพิ่มสาขา การเข้าตลาดหลักทรัพย์ การขยายผลิตภัณฑ์ไปยังเครื่องดื่มชนิดอื่นที่ไม่ใช่กาแฟ จนไปถึงการขยายสาขาออกไปในต่างประเทศ

หลังจากค้นหาในอินเทอร์เน็ทก็ได้คำตอบว่า ไม่มีสาขา Starbucks ในอิตาลี บทความหนึ่งวิเคราะห์ว่า อาจจะเป็นเพราะ เมื่อเปรียบผลได้ผลเสียของการเสี่ยงเปิดสาขาในอิตาลีแล้ว ไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง เลยหลบไปดีกว่า

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสื่อสารภายในองค์กร

พนักงาน สวทช. ทุกคนจะได้รับอีเมลประชาสัมพันธ์รายการโทรทัศน์ ซึ่ง สวทช. เป็นผู้จัดทำเนื้อหา ซึ่งก็เป็นผลงาน หรือ เกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยของ สวทช. นั่นเอง รายการนี้ออกอากาศเป็นประจำทุกสัปดาห์ และ อีเมลนี้ก็มาเป็นประจำ

ผมไม่ค่อยได้อ่านเมลนี้นัก ทำให้ผมรู้สึกเห็นใจคนส่งเมล และ ทีมงาน ที่คงอยากให้คนในองค์กรสนใจสื่อที่องค์กรทำขึ้นมา แต่ทำอย่างไรจึงจะสื่อสารกันเองในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่านี้

ทำไมไม่เปิดเมลอ่าน เพราะอ่านไปก็ไม่มีผลอะไร ผมไม่ค่อยได้ดูโทรทัศน์ ไม่เคยดูรายการนี้ และ ไม่คิดว่าจำเป็นต้องดู หรือ จะได้อะไรจากการดูรายการนี้

ทำไมต้องส่งเมลมาบอกว่ามีรายการนี้อยู่ อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเหตุผลจริงๆคืออะไร อาจจะอยากให้มีคนดูเพิ่มขึ้น ช่วยๆกันประชาสัมพันธ์ หรืออาจจะอยากให้พนักงานได้ดูรายการนี้ หรือ ให้ทราบว่าองค์กรทำรายการนี้อยู่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ผมว่าการส่งเมลแบบนี้แทบไม่ได้ช่วยให้บรรลุผลที่ต้องการเลย

แล้วทำไงดี ผมว่าถ้าจะสื่อก็น่าจะสื่อให้บรรลุผลเลยจะดีกว่า เช่น จัดเวที โปสเตอร์ ฯลฯ ในจุดที่เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการสื่อ บอกสิ่งที่ต้องการบอก สิ่งที่ต้องการให้ทำ จะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ผมว่า Email Inbox น่าจะไม่เหมาะกับการสื่อสารเรื่องรายการโทรทัศน์ รวมถึงการขายผัก และ ประกาศอีกสารพัดอย่าง เวลาที่เราเปิดอีเมลขึ้นมา เราคาดหวังจะทำอะไร เราต้องการอ่านอะไร แต่แล้วเราพบกับอะไร เป็นเพราะอย่างนี้รึเปล่าที่การสื่อสารมันล้มเหลว

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

What the world needs now

ได้ฟังเรื่องการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของบริษัทผู้นำทางเทคโนโลยี อย่าง IBM เป็นต้น ทำให้รู้สึกน่าสนใจ ยิ่งมาทบทวนกับความคิดของผมเอง ที่เกิดขึ้นมาในหลายๆปีที่ผ่านมา ทำเห็นแนวโน้มในเรื่องราวเหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้นอีก

ประมาณ 5 ปีก่อน ผมเปลี่ยนจาก Windows มาใช้ Mac OS X หลังจากนั้น Mac OS ก็มีการอัพเดทไปอีกายรุ่น แต่ผมรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นซักเท่าไหร่ ถ้าถามตัวเองว่าควรจะมี feature อะไรเพิ่มเติมอีก ผมก็นึกไม่ออก คิดว่าแค่ทำสิ่งที่มีอยู่นี่ให้ดีก็เพียงพอแล้ว 

ตอนนี้เทคโนโลยีจอแสดงผลก็ก้าวไปไกลมาก จากจอภาพที่แสดงเฉพาะตัวอักษร มาเป็นจอโมโนโครม จอสี เพิ่มความละเอียด เพิ่มสี จนถึง Full HD จอ 3D จอ 4K แต่ตาคนก็เหมือนเดิม ความตื่นเต้นกับการพัฒนาเทคโนโลยีช่วงหลังๆ มันก็จืดจางไป

อาการที่เกิดขึ้นนี้คงเป็นเพราะเทคโนโลยีมันไปไกลเกินความต้องการเกินไปแล้ว เหมือนกับเพลง What the world needs now is love ที่บอกว่า โลกนี้มีไอ้นู่นไอ้นี่เยอะแยะไปแล้ว (ไม่ต้องเพิ่มอีกแล้ว) เมื่อเป็นอย่างนี้ บริษัทที่ฉลาดจึงเริ่มหนีออกจากการพัฒนาเทคโนโลยี ไปสู่การพัฒนาการใช้งานมากขึ้น 

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โปรกระชากใจ

บริษัทมือถือรายหนึ่ง ออกโปรย้ายค่ายเบอร์เดิม iPhone 5s 32GB เหลือ 6,000 บาท บังคับใช้บริการรายเดือนๆละ 599 บาทนาน 12 เดือน รวมแล้วหมื่นกว่าๆ เทียบกับราคา iPhone สองหมื่นกว่า ยังไงก็คุ้ม แต่......มีเงื่อนไข "จำนวนจำกัด จนกว่าของจะหมด" หมายความว่าให้ยื่นเรื่องย้ายค่าย พอทำเรื่องเสร็จหากยังมีเครื่องในโควต้าเหลือ ก็จะได้ซื้อตามราคาที่ว่า หากไม่มีแล้วก็อด ได้เป็นลูกค้าเค้าเฉยๆ 

โปรนี้มีผลทำให้ บริษัทได้รับความสนใจอย่างมาก ในช่วงเวลาสั้นๆ พร้อมๆกันนั้น 1) ลูกค้าปัจจุบันช้ำใจ ว่าไม่มีโปรอะไรให้เลย 2) ลูกค้าใหม่ทำเรื่องไปแล้ว ส่วนที่ไม่ได้สิทธิ ก็จะออกมาด่า 3) ลูกค้า และ ไม่ลูกค้าออกมาประจาน คุณภาพสัญญาณ และ การบริการในปัจจุบัน 

โฆษณาแบบนี้ ทำไมไม่บอกไปเลยละว่าจำนวนจำกัดที่ว่านั้น มีกี่เครื่อง

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทำนายอนาคต

รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ รังสิต เริ่มก่อสร้างมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังอีกนานกว่าจะเสร็จ ช่วงนี้จึงเห็นรถบรรทุกวิ่งผ่านมาแถวๆบ้านผมบ่อยๆ เวลาขับรถผ่านถนนกำแพงเพชร 6 ก็ต้องระวังการก่อสร้างที่มีทั้งเครื่องจักรหนัก วัสดุก่อสร้าง แผ่นเหล็ก รวมทั้งสภาพถนนที่อาจจะมีหลุมใหม่ๆเพิ่มขึ้นโดยไม่ทันรู้ตัว แต่ทุกคนก็ตั้งความหวังว่าเมื่อรถไฟฟ้าเสร็จ จะได้เดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก ช่วงนี้กิจการร้านค้าแถวนี้คงได้รับผลกระทบบ้าง อย่างฟูดแลนด์ที่ผมมักไปซื้อสินค้าประจำ ช่วงนี้ก็ไม่ค่อยอยากไปเท่าไหร่ ยอดขายคงจะลดลงจนกว่ารถไฟฟ้าจะเสร็จ แต่ที่ไม่แน่ใจคือ หลังรถไฟฟ้าเสร็จยอดขายจะเพิ่มขึ้นหรือเปล่า คงต้องดูว่าลูกค้าของฟูดแลนด์ปัจจุบันมาจากไหน หากมาจากพื้นที่ใกล้ๆ การมีรถไฟฟ้าอาจจะไม่ช่วยอะไร แถมยังอาจจะทำให้ลูกค้าไปซื้อของที่อื่นสะดวกขึ้น มีโอกาสเสียลูกค้าอีก แต่ถ้าลูกค้ามาจากที่ไกลๆ การมีรถไฟฟ้าอาจจะช่วยทำให้ลูกค้ามาร้านสะดวกขึ้น 

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คู่ไม่ควรแข่ง

วันเสาร์ที่ผ่านมาผมไปเรียนการตลาดที่ธรรมศาสตร์ ตอนเช้าเป็นการบรรยายเรื่อง Digital Marketing โดยคุณต่อบุญ CEO Sanook.com คุณต่อบุญเล่าว่าก่อนจะมาทำเวป Sanook เคยทำเวปอื่นๆ อย่าง Mr. Home และ Thailand.com มาก่อน ในยุคที่คนใช้ิอินเตอร์เน็ทในประเทศไทยยังมีแค่ประมาณ 1 ล้านคน ปัญหาในตอนนั้นคือการทำให้มีคนมาใช้เวปไซต์ ซึ่งคุณต่อบุญใช้วิธีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ แล้วก็ไปต่อไม่ไหวเพราะค่าใช้จ่ายสูงเกิน 

พอมาทำ Sanook.com ซึ่งเป็นเวปพอทัล คนเริ่มรู้จักมาก แทบไม่ต้องใช้เงินโฆษณา แถมเนื้อหาก็ไม่ต้องอทำเอง ต่อมาจึงมี บริการเสิร์ชของ Google เกิดขึ้น ยอดการใช้งาน Sanook เริ่มตก จึงมีการหารือในหมู่ผู้บริหาร แต่ข้อสรุปในตอนนั้นเห็นว่า บริการของ Google เป็นคนละอย่างกับ Sanook จึงไม่ถือเป็นคู่แข่ง แต่ยอดการใช้งานของ Sanook ก็ตกเรื่อยๆ เพราะแม้จะเป็นบริการที่ต่างกัน แต่การเสิร์ชก็มาทดแทนบริการพอทัลของ Sanook ได้อยู่ดี

ช่วงหนึ่งคุณต่อบุญฮึดสู้ พยายามทำบริการเสิร์ชแข่งกับ Google บ้าง โดยเน้นเวปภาษาไทย ใช้ความเข้าใจภาษาไทยเป็นจุดแข็ง แต่สุดท้ายก็ไม่ชนะ  เมื่อไม่อาจเอาชนะ Google ได้ Sanook หันไปร่วมมือกับ Google แทน โดยการนำช่องค้นหาของ Google มาวางไว้ในเวป Sanook ทำให้ไม่ต้องทำ search engine เอง แถมยังได้ส่วนแบ่งค่าโฆษณาจาก Google อีกอย่างที่ Sanook ทำคือ SEO ทำให้ Sanook เป็นเวปที่อยู่ในต้นๆของผลการค้นหาของ Google เท่ากับว่า Google นำผู้ใช้มาส่งให้ Sanook 

ผมจึงอยากสรุปว่า Google เป็นคู่แข่งของ Sanook แค่เป็นคู่แข่งที่ไม่ควรแข่ง 

เรื่องสมมุติ

ลองนึกว่าถ้าคนที่ริเริ่มตั้งบ. Google ไม่ได้เลือก business model ที่ใช้อยู่ในตอนนี้จะเป็นอย่างไร คือ แทนที่จะค้นหาข้อมูลได้ฟรี (โดยหารายได้จากค่าโฆษณา) แต่อาจจะเก็บค่าค้นหา 100 ครั้ง 1 ดอลล่า เป็นต้น ผมเดาว่า Google คงไม่ได้มาไกลเท่าทุกวันนี้ จำนวนผู้ใช้คงน้อยกว่านี้มาก ความจำเป็นในการขยายกิจการก็น้อยกว่าเยอะ โลกก็คงขาด Google map, Google doc, Google app engine etc. ไป ธุรกิจต่อเนื่องจำนวนมากไม่อาจเกิด รวมทั้งมือถือแอนดรอยด์ โนเกียร์อาจจะยังขายดี 

คิดดูแล้วก็น่าทึ่ง ที่การตัดสินใจครั้งนั้น จะส่งผลต่อพัฒนาการของโลกได้ถึงเพียงนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำถามคาใจ

เคยคุยกับพี่ปูฝ่ายวิจัยนโยบาย เรื่องการวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) ว่าจะทำเรื่องอะไรดี ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องวิจัยนโยบายซักเท่าไร อะไรที่ไม่ได้เป็นการวิจัยทางเทคนิคก็คิดว่าเป็นวิจัยนโยบายหมด ซึ่งไม่ถูก

อย่างไรก็ตาม การคุยกันทำให้นึกถึงว่า เรา (ประเทศไทย สวทช. เนคเทค) ขาดวิธีการผลักดันให้งานวิจัย หรือสิ่งประดิษฐ์ โดยเฉพาะด้านไอที ไปสู่ตลาดและเติบโต จริงๆ ไม่ใช่แค่วิธี แต่ต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย

ผมนึกถึงตัวอย่างคือ Google ซึ่งเริ่มจากการค้นพบอัลกอริธึมในการค้นหาหน้าเวป ที่ได้ผลดีกว่าอัลกอริธึมที่ใช้กันอยู่ในตอนนั้น ดีกว่ามากๆ

คำถามคือ ถ้าการค้นพบนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยนักวิจัยไทย จะมีโอกาสสักเท่าใดที่การค้นพบนั้นจะเติบโตเป็นบริษัท Google อย่างในวันนี้