วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

ร่างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติ

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ลงมติรับทราบร่างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติ และ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานบรรจุในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2558 เป็นต้นไป

ประเทศไทยมีการกำหนดแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติมาหลายฉบับ ตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา ล่าสุดก็ได้มีแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557 ของกระทรวงมหาดไทย และ แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวง 17 ด้าน แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม

ตามร่างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 5 ด้าน คือ ด้านการเตรียมพร้อม ด้านชุมชนและสังคม ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศ ด้านการผนึกกำลังและการบูรณาการ และ ด้านการบริหารจัดการที่มีเอกภาพและประสิทธิภาพ 

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ได้ถูกำหนดให้มีบทบาทในร่างยุทธศาสตร์นี้มากนัก นอกจากบางข้อที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานเป็นหน่วยงานสนับสนุนแล้ว กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (ร่วมกับ มท. ตร. และ สขช.) ยังถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการพัฒนาระบบแจ้งเตือน เฝ้าระวัง ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งของการเตรียมความพร้อม 


ในความเห็นผมคิดว่ากระทวงวิทยาศาสตร์ฯ ควรจะมีบทบาทอื่นอีก ได้แก่ การพัฒนาคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ และ เครือข่ายข้อมูลด้านความมั่นคง ซึ่งมีหน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงกลาโหม และ หน่วยงานสนับสนุน คือ จังหวัด สมช. ตร. ศรชล. และในส่วนของการส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการป้องกันประเทศและความมั่นคง ทั้งในส่วนของการพัฒนาอาวุธ ระบบการแจ้งเตือนภัย และ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น